วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

วัดหนองแวง (พระอารามหลวง) จ.ขอนแก่น

 วัดหนองแวง (พระอารามหลวง) จ.ขอนแก่น

 
ณ วัดหนองแวง (พระอารามหลวง) ที่มีพระมหาธาตุแก่นนคร หรือ พระธาตุเก้าชั้น เรือนยอดทรงเจดีย์ (จำลองแบบมาจากพระธาตุขามแก่น) สร้างขึ้นเนื่องวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราช สมบัติครบ 50 ปี แล้วมหามังคลานุสรณ์ 200 ปี จ.ขอนแก่น องค์พระธาตุฯ สูง 80 เมตร มีพระจุลธาตุ 4 องค์ อยู่ 4 มุมแล้วมีกำแพงแก้วพญานาค 7 เศียรล้อมรอบอยู่ เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี ผสมผสานกับศิลปะอินโดจีน ในระหว่างการเดินขึ้นจะได้ยินเสียงอันไพเราะก้องกังวาน ของกระดิ่งที่แขวน ไว้รอบพระธาตุทั้ง 9 ชั้น ทำให้มีความสุขจิตสุขใจ ในขณะที่เดินขึ้นไปในแต่ละชั้น พร้อมสามารถเดินชมศิลปะและความงามของบานประตู ภาพวาด และหน้าต่างที่แกะสลัก บอกเล่าเรื่องราวด้วยภาพชาดก ภาพพุทธประวัติ ในชั้นบนสุดของพระธาตุเป็นที่ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุกลางบุษบก ทั้งเป็นจุดชมวิวทัศนียภาพที่สวยงามของ จ.ขอนแก่นได้รอบทั้ง 4 ทิศ โดยเฉพาะทางด้านทิศตะวันออกสามารถมองเห็นทิวทัศน์ บึงแก่นนครที่มีพื้นที่ กว้างขวางถึง 600 ไร่

ภายในองค์พระธาตุแต่ละชั้น ประกอบด้วย

- ชั้นที่ 1 หอประชุม มีพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า (ส่วนอก) และพระธาตุของพระสาวกอยู่ประมาณ 100 องค์ ประดิษฐานอยู่ บานประตู หน้าต่าง แกะสลักเป็นภาพนิทานเรื่องจำปาสี่ต้น แบบ 3 มิติ และมีการส้รางจิตรกรรมฝาผนังประวัติศาสตร์ของ จ.ขอนแก่น

- ชั้นที่ 2 พิพิธภัณฑ์ชาวอีสาน โดยรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ของอดีตที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน ทั้งลวดลายบนผนังที่เกี่ยวข้องกับข้อห้ามของคนอีสาน ที่เรียกว่า "คะลำ" ซึ่งเป็นแนวทางประพฤติตนในการอยู่ร่วมกันของชาวอีสาน โดยในแต่ละภาพก็จะหมายถึงข้อห้ามในแต่ละข้อ มีทั้งหมด 35 ข้อ บานประตู หน้าต่าง เขียนเป็นลวดลายเบญจรงค์ และภาพแกะสลักนิทานเรื่องสังศิลป์ชัยนั่นเอง

- ชั้นที่ 3 หอปริยัติบานประตู หน้าต่าง วาดลวดลายเบญจรงค์และเป็นภาพแกะสลักนิทานเรื่องนางผมหอม นิทานที่ได้เล่าสืบต่อกันมาในโบราณของชาวอีสาน และชั้นที่สามนี้ได้รวบรวมพัดยศ ตาลปัตรและเครื่องอัฐบริขารของพระภิกษุสงฆ์ ที่มีชื่อเสียงใน จ.ขอนแก่น

- ชั้นที่ 4 หอปริยัติธรรม ภายในจะมีพิพิธภัณฑ์ของเก่า ภาพวาดบนบานประตู หน้าต่าง เป็นภาพพระประจำวันเกิด เทพประจำทิศ และตัวพึ่ง-ตัวเสวย นั่นเอง

- ชั้นที่ 5 หอพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วยบริขารของหลวงปู่พระครูปลัดบุษบา สุมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดรูปที่ 6 บนบานประตูหน้าต่างแกะสลักภาพพุทธชาดกนั่นเอง

- ชั้นที่ 6 หอพระอุปัชฌายาจารย์ บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานชาดกเรื่องเวสสันดรนั่นเอง

- ชั้นที่ 7 หอพระอรหันต์สาวก บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานเรื่องพระเตย์มีใบ้นั่นเอง

- ชั้นที่ 8 หอพระธรรม ที่รวบรวมพระธรรม คัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา พระไตรปิฏกฯลฯ บนบานประตูแกะสลักรูปพรหม 16 ชั้นนั่นเอง

- ชั้นที่ 9 หอพระพุทธ ตรงกลางมีบุษบก ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า บนบานประตูแกะสลักภาพ 3 มิติ รูปพรหม 16 ชั้นนั่นเอง

เปิดเวลา 8.00 - 18.00 น. ของทุกวัน

ที่ดที่ยวต่อไปดูได้อีกที่ http://travel.sanook.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น